พิพิธภัณฑ์มีชีวิตชาวบางมูลนาก เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างเมืองบางมูลนากให้เป็น เมืองน่าอยู่ การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของชุมชน บางมูลนาก คือการเปลี่ยนทิศทางเดินของแม่น้ำน่าน ซึ่งเดิมนั้นไหลจากจังหวัดพิษณุโลกเข้าเขตจังหวัดพิจิตรบริเวณตำบลไผ่ขวาง บ้านดงเศรษฐี แล้วไหลลงใต้ผ่านเมืองพิจิตรเก่า โพธิ์ประทับช้าง วังสำโรง วัดขวาง ทุ่งน้อย ท่าบัว บ้านน้อยไปบรรจบกับแม่น้ำยมที่ตำบลบางคลาน อำเภอโพทะเล ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2413 มีกลุ่มคนจีนเข้ามาทำไร่ฝ้าย บริเวณบ้านดงเศรษฐี และได้ขุดทางน้ำเล็กๆจากแม่น้ำน่านไปเชื่อมกับคลองเรียงที่บ้านท่าฬ่อ และต่อมากระแสน้ำไหลแรงจนเปลี่ยนทางเดินมาตามคลองเรียงซึ่งเป็นคลองธรรมชาติ เชื่อมต่อกับ คลองท่าหลวง คลองดัน ในเขตอำเภอเมืองพิจิตร ผ่านไปทางคลองห้วยคลองบุษบงเหนือและใต้ ในเขตอำเภอบางมูลนาก และไปบรรจบกับแม่น้ำยม ที่ตำบลเกยไชย อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์
การเปลี่ยนทิศทางของแม่น้ำน่าน ที่ผ่านเข้ามาในบริเวณเขต ตำบลบางมูลนาก ส่งผลต่อการเกิดชุมชนริมแม่น้ำน่านสายใหม่ ประกอบกับสร้างเส้นทางรถไฟสายเหนือ โดยการเลือกเส้นทางรถไฟ ให้ผ่านมณฑลพิษณุโลก ด้วยหวังผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ การรถไฟตามข้อเสนอของเจ้ากรมรถไฟในขณะนั้น (นาย แฮร์มัน เกิ๊ธ) โดยเส้นทางรถไฟจะขนานแม่น้ำน่านทางทิศตะวันออก ในการนี้ทรงมีพระราชหัตถเลขาเป็นแบบรายงานพระราชทานถึงที่ประชุมผู้สำเร็จราชการรักษาพระนครเพื่อแจ้งให้ประชาชนได้ทราบข่าวการเสด็จประพาสพระราชหัตถเลขาที่ทรงไว้เมื่อคราวเสด็จบางมูลนาก ในวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2444 จากพระราชหัตถเลขาบางส่วน ดังนี้ “เป็นลักษณะเมืองเหนือซึ่งเคยจำได้อันได้กล่าวมาแล้ว แต่มีน้ำเกิดขึ้นใหม่ๆ รายกันบ้านคนตั้งที่ริมมาตลอดทางในเรือนเช่นนี้มีเกวียนอยู่ในลานบ้านได้ความว่ามีนาอยู่ข้างใน เมื่อมาถึงพรมแดนเมืองภูม มณฑลพิศณุโลกต่อนครสวรรค์ มีประตูข้ามแม่น้ำ
ประดับประดาด้วยคำอำนวยพรแลมงคลต่างๆ มีพระสงฆ์ราษฎร คอยรับเป็นการครึกครื้นมาก บางมูลนาคมีบ้านเรือนและตลาดผู้คนหนาแน่นเกินที่คาดหมายเป็นอันมาก” พระราชหัตถเลขาในครั้งนั้นแสดงให้เห็นว่าบางมูลนากเป็นเป็นชุมชนที่อุดมสมบูรณ์ตามหลักฐานที่ปรากฏมีอายุไม่น้อยกว่า 120 ปี จากเอกสารได้แสดงให้เห็นว่าวิถีชีวิตชาวบางมูลนาก สัมพันธ์กับข้าว โดยมีแม่น้ำน่านทำหน้าที่หล่อเลี้ยงผู้คน ทั้งจากการทำนาข้าวผ่านคูคลองต่างๆ ประกอบกับการคมนาคมทางรถไฟที่เริ่มต้นเดินรถจากกรุงเทพฯ ถึงสถานีพิษณุโลก ในปี พ.ศ. 2450 ทำให้เศรษฐกิจในชุมชนบางมูลนากเติบโตอย่างต่อเนื่องและเกิดโรงสีข้าวขึ้นหลายแห่งในชุมชน ถือได้ว่าชุมชนบางมูลนาก ในขณะนั้นเป็นศูนย์กลางการค้าข้าวที่สำคัญ แม้ว่าพัฒนาการทางด้านเศรษฐกิจและสังคมจะทำให้ชุมชนบางมูลนากเปลี่ยนแปลงไปแต่วิถีชีวิตบทบาทของชุมชนริมน้ำ เอกลักษณ์ของชุมชนการค้าดั้งเดิม วัฒนธรรม
Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้